“ปัญหานอนไม่หลับ”
เป็นอาการที่คนทำงานส่วนใหญ่กำลังประสบ ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาตื่นกลางดึกเช่นเดียวกัน ส่งผลให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ รู้สึกไม่สดชื่น อีกทั้งมีอาการง่วงในตอนกลางวัน ทำให้การนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่ต้องถูกแก้ไข ไม่เช่นนั้นร่างกายแย่แน่! เราไม่รอช้าขอพาทุกคนไปดูเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ เพื่อช่วยให้คุณกลับมานอนหลับพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง แต่ก่อนอื่น ลองไปดูจุดเริ่มต้นของปัญหานี้กัน
นอนไม่หลับ เกิดจากอะไร?
“นอนไม่หลับ” เป็นปัญหาการนอนรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งอาการนอนไม่หลับที่พบได้มาก เช่น การนอนไม่หลับหรือหลับลำบาก , นอนหลับไม่สนิท , ตื่นกลางดึก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ รวมทั้งนอนเช้าหรือเร็วกว่าปกติ ตื่นตอนเช้ารู้สึกไม่สดชื่น นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เพียงพอ ยังเป็นปัญหาของประชากรไทยประมาณ ร้อยละ 30-40 มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง อยู่ที่ร้อยละ 10 โดยบุคคลที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการนอนไม่หลับมากที่สุด คือ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคทางกายเรื้อรัง หรือใช้ยาประจำ รวมทั้งผู้ป่วยโรคจิตเวช
โดยปัญหานอนหลับ มักเกิดขึ้นเร็ว และเป็นอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ และไม่เรื้อรัง สาเหตุส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาทางด้านอารมณ์ ปัญหาความเครียดจากการทำงาน อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ ทั้งสภาพแวดล้อม เสียงดัง อุณหภูมิต่าง ๆ รวมไปถึงการเปลี่ยนที่นอน หรือเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก ส่งผลให้ร่างกายปรับตัวกับสภาพที่เกิดขึ้นได้ช้า แต่ถ้าปรับตัวได้ก็จะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
สาเหตุของการนอนไม่หลับเรื้อรัง
โดยส่วนใหญ่ปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรัง มักเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือน โดยมีสาเหตุเดียว หรือหลายสาเหตุร่วมกัน ดังนี้
- โรคทางจิตเวช ผู้ป่วยที่มีภาวะอารมณ์ตกต่ำ หรือซึมเศร้า และวิตกกังวล ส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์ด้วยอาการทางกายและนอนไม่หลับ
- โรคทางอายุรกรรม เช่น โรคสมองเสื่อม ภาวะทางฮอร์โมน การตั้งครรภ์ วัยทอง โรคหอบหืด และอาการปวด การไอเรื้อรัง การหายใจลำบาก การต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อย ๆ อาจรบกวนการนอนได้
- ยา เข่น กาแฟอิน สตรีรอยด์ ยากั้นเบต้า และยาลดน้ำหนักต่าง ๆ รวมทั้งแอมเฟตามีน
โรคของการนอนหลับโดยตรง
สำหรับโรคของการนอนไม่หลับ มีดังนี้
1. Restless leg syndrome
เริ่มต้นด้วยความรู้สึกไม่สบายบริเวณกล้ามเนื้อขา หรือเท้า แต่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวเท้าเล็กน้อย บางครั้งรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งขยับในกล้ามเนื้อ จะเป็นในช่วงเย็น หรือตอนที่ผู้ป่วยเข้านอน จัดเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เวลานอนจะกระสับกระส่าย อาจต้องมีการนวดคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น
2.Periodic limb movement disorder
ต่อด้วยอาการสะบัด หรือกระตุกเป็นพัก ๆ บริเวณขาทั้ง 2 ข้าง อาจพบได้ที่แขนบ้าง ส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับ และมักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 20 นาที หรือ 90 นาที ในช่วงแรกอาจไม่รู้สึกตัว แต่ผู้ที่นอนใกล้ชิดจะเล่าถึงลักษณะอาการได้ดีกว่า มักได้ในผู้สูงอายุและผู้ป่วยไตวาย
3. Obstructive sleep apnea
อาการขาดลมหายใจระหว่างการนอน เป็นพัก ๆ พบได้ในบุคคลที่นอนกรนเสียงดัง สลับกับหายใจลำบาก อ้วน คอสั้น หนา และมักง่วงนอนมากในตอนกลางวัน ส่งผลให้ตื่นกลางดึกเป็นระยะ ๆ จัดเป็นโรคที่เกี่ยวกับการนอนที่ต้องระมัดระวัง และป้องกันให้ดีที่สุด เพราะหากขาดอากาศหายใจ ก็ส่งผลถึงชีวิตได้นั่นเอง
4. Circafian rhythm diorder
เป็นอาการของคนที่มีเวลาการนอนที่เกิดขึ้นช้า และตื่นสายกว่าคนทั่วไป เชื่อว่า หลายคนน่าจะเป็นอาการนี้ โดยเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์
5.Primary insomnia
ปิดท้ายด้วยปัญหาการนอนที่พบได้บ่อย และมีปัจจัยกระตุ้นบางอย่างที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น เช่น Jetlag หรือไม่สบายใจบางอย่าง แม้เหตุการณ์จะผ่านไปแล้ว แต่ก็ยังส่งผลให้นอนไม่หลับอยู่ อีกทั้งยังมีความกังวล หรือคิดเรื่องราวตลอดเวลา ทำให้การนอนมีปัญหา และนอนไม่หลับได้ง่ายขึ้น เวลาเข้านอนก็พยายามจะหลับ ส่งผลให้มีภาวะ hyperarousal ซึ่งจะหวนไปทำให้ความสามารถที่จะนอนหลับลดลง จะไม่สามารถนอนหลับได้ ดังนั้นควรแก้ไข เมื่อจัดการลูปนี้ให้หายไป
ผลของการนอนหลับไม่เพียงพอ
หลายคนทราบอาการข้างเคียง จากการนอนไม่หลับอย่างชัดเจน ทั้งความง่วง , รู้สึกไม่สดชื่น และความสามารถในการทำงานลดน้อยลง โดยความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับจำนวนคืนที่คุณนอนไม่เพียงพอ ยิ่งใครที่มีปัญหามานาน ก็จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย , ไม่ร่าเริง , หงุดหงิด และขาดสมาธิ นอกจากนี้ ยังมีอัตราของการขาดงาน และใช้บริการทางการแพทย์สูงขึ้น โดยวิธีรักษาและนอนหลับให้เพียงพอ สามารถทำได้ ดังนี้
- ตื่นนอนและเข้านอนให้เป็นเวลา
- ไม่ทำกิจกรรมอื่นใดบนเตียงนอน ยกเว้นเรื่องนอนและกิจกรรมทางเพศ
- ใช้เวลาบนเตียงนอนให้น้อยที่สุดในแต่ละคืน
- ในกรณีที่เข้านอนแล้ว 10-15 นาที ยังไม่สามารถนอนหลับได้ ไม่ควรพยายามนอนต่อไป ควรลุกไปจากเตียงหรือไปห้องอื่นเพื่ออ่านหนังสือเบาก ๆ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เมื่อรู้สึกง่วงจึงกลับเข้านอนใหม่
- ไม่ควรมีนาฬิกาบอกเวลาในห้องนอน
- ไม่ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกาย หรือหนักสมองก่อนเข้านอน
- มีกิจกรรมผ่อนคลายก่อนการเข้านอน เช่น อาบน้ำอุ่น ดื่มนมหรือน้ำผลไม้ อ่านหนังสือเบา ๆ 10 นาทีก่อนเข้านอน
- งดกาแฟ ชา ก่อนเวลาเข้านอน 6 ชั่วโมงและงดสุรา บุหรี่เมื่อเวลาเข้านอน
- พยายามไม่งีบหลับในช่วงกลางวันมากเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ง่วงและคุณภาพการนอนไม่ดีในคืนนั้น
- การออกกำลังกายหนัก ๆ ควรทำในช่วงเย็นอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
- ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินยืดเส้นยืดสายก่อนเวลานอน 2-3 ชั่วโมง

หลักการป้องกันอาการนอนไม่หลับ ที่คุณสามารถทำตามได้ง่ายๆ และควรทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน เพื่อช่วยปรับให้การนอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าใครต้องการตัวช่วยดีๆ ที่จะทำให้การนอนหลับลึกขึ้น ไม่ตื่นกลางดึก เราอยากแนะนำให้รู้จัก “น้ำมันรำข้าวกอมฟลีนา” สารสกัดจากข้าวเกรดพรีเมี่ยม สกัดภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อสารอาหารที่ดีที่สุด ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดความเครียด และนอนหลับได้ง่ายขึ้น ผ่อนคลายตลอดทั้งคืน เรียกได้ว่า เป็นตัวช่วยที่คุณต้องห้ามพลาด