เพราะ “โรคเบาหวาน” ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด หากดูแลตัวเองไม่ดี ก็สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย แถมความน่ากลัวมากกว่านั้น คือ “โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน” ที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน ลองมาดูกันว่า โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน มีอะไรบ้าง
ขออธิบายถึงโรคแทรกซ้อนของเบาหวานแบบกระชับ จะเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของการเป็น “โรคเบาหวาน หรือหากคุณยิ่งเป็นเบาหวานนาน ต้องดูแลตัวเองให้ถูกต้อง เพื่อช่วยลด และชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านั้นให้ช้าลง หรือโรคแทรกซ้อนบางอย่างอาจป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้
โรคแทรกซ้อนเบาหวานทางตา
เริ่มด้วยโรคแทรกซ้อนเบาหวานที่เกิดขึ้นกับดวงตา และจัดเป็นอาการที่มีความน่ากลัว หากผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ดูแลตัวเองให้ดีอาจมีอาการเช่นนี้ได้
- เบาหวานขึ้นตา เริ่มด้วยอาการ “เบาหวานขึ้นตา” ที่หลายคนคุ้นชื่อ แต่ยังไม่ทราบลักษณะอาการ เริ่มจากเส้นเลือดของจอรับภาพดวงตา จะโป่งพอ หรือมีเส้นเลือดแตก และไม่มีอาการแสดงออก ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ยกเว้นความผิดปกติเกิดขึ้นในตำแหน่งสำคัญของดวงตา เช่น จอรับภาพ หรือบริเวณเส้นเลือด จนบังจอภาพทำให้มองไม่เห็น หรือตาบอดกะทันหันได้ การป้องกันไม่ให้ตาบอดสามารถ ทำได้โดยการตรวจตากับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
- ต้อกระจก จัดเป็นอาการที่พบได้ในผู้สูงอายุหลายคน และเป็นภาวะที่เลนส์ของลูกตาขุ่นมัว ทำให้การมองเห็นลดลง หรือมองไม่เห็นเลย หากคุมเบาหวานได้ไม่ดี จะเกิดต้อกระจกเร็วขึ้น ส่วนการรักษา ทำได้โดยการผ่าตัดลอกเอาเลนส์ที่เสื่อมออก และเอาเลนส์เทียมใส่แทนก็จะช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงตามมา
โรคแทรกซ้อนเบาหวานทางไต
ต่อไปเป็นโรคแทรกซ้อนทางไต ที่คุณต้องระวังเช่นเดียวกัน โดยมีอาการดังนี้
“เบาหวานลงไต” จัดเป็นโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสียชีวิตมากที่สุด โดยอาการของเบาหวานลงไต คือ ตรวจพบโปรตีนแอลบูมินในปัสสาวะ และโปรตีนแอลบูมินยังรั่วออกจากไตน้อย วันละประมาณ 30-300 มิลลิกรัม เรียกว่า “ภาวะไมโครแอลบูมิน” นั่นเอง และหากเบาหวานลงไตมากขึ้น ผ่านจากภาวะไมโครแอลบูมินเข้าสู่ภาวะแมโครแอลบูมิน คือ จะมีแอลบูมินปัสสาวะมากกว่า 300 มิลลิกรัม และหากโปรตีนแอลบูมินรั่วออกจากร่างกายมาก ๆ ทำให้โปรตีนแอลบูมินในเลือดต่ำลงด้วย ส่งผลให้เกิดอาการบวมโดยเฉพาะบริเวณเท้าในระยะต้นอาจบวม ๆ แล้วยุบไป วันต่อมาก็จะบวมตลอดเวลา และบวมทั่วตัว หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะไตพิการ หรือไตวายเรื้อรังได้

โรคแทรกซ้อนเบาหวานทางระบบประสาท
สำหรับโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
- อาการที่เกิดจากประสาทปลายเสื่อม เริ่มต้นด้วยอาการประสาทปลายเสื่อม ที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน ที่สูญเสียประสาทการรับความรู้สึกบริเวณเท้า เริ่มจากปลายนิ้วเท้าและลุกลามไปเรื่อย ๆ จนไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ และไม่รับรู้ความร้อนเย็นที่เท้าทั้ง 2 ข้าง และการสูญเสียประสาทการรับรู้เหล่านี้ ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เท้าได้ง่าย และบาดแผลที่เกิดขึ้นมักถูกละเลยเพราะไม่เจ็บ
- ความผิดปกติของเส้นประสาทเส้นใดเส้นหนึ่ง ความผิดปกติชนิดนี้ เกิดขึ้นจากประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ ทำให้กลอกตาไปไม่ได้บางทิศทาง หรือมองเห็นภาพซ้อนกัน บางรายมีอาการปวดศีรษะมากร่วมด้วย โดยความผิดปกตินี้ส่วนใหญ่จะหายไปเองใน 2-3 เดือน
- ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม โดยอาการประสาทเสื่อม แบ่งได้ดังนี้
- ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมระบบทางเดินอาหารเสื่อม ส่งผลให้กระเพาะอาหารไม่เคลื่อนไหว ทานอาหารไม่ค่อยได้เพราะมีอาการแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และการดูดซึมสารอาหารมีปัญหา อาจทำให้มีปัญหาท้องเสียเรื้อรังเป็น ส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
- ประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เสื่อม เกิดจากอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือปัสสาวะไหลออกไม่รู้ตัว ทำให้ภาวะกระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว และมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และในเพศชายยังมีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวด้วย
โรคแทรกซ้อนเบาหวานของหัวใจและหลอดเลือด
มาถึงโรคแทรกซ้อนเบาหวานของหัวใจ หลอดเลือด โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เป็นเวลานาน จะส่งผลให้เส้นเลือดตีบแข็งตัวเร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหากับอวัยวะที่เส้นเลือดไปหล่อเลี้ยง เช่น เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เส้นเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาซึ่งทำให้ขาอ่อนแรง และมีอาการปวดขาได้ เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เส้นเลือดตีบ
ส่วนสาเหตุและที่มา ทำให้เส้นเลือดตีบ มีดังนี้
- ความผิดปกติของไขมัน เริ่มต้นด้วยอาการผิดปกติของไขมัน ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย เช่น ไขมันไตรกลีเซอร์ และคอเลสเตอรอล ซึ่งจะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดคราบแข็งขึ้นที่ผนังหลอดเลือด ทางที่ดีต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร และเข้าพบแพทย์เป็นประจำ พร้อมทำตามคำแนะนำ และไม่ลืมที่จะออกกำลังกาย เพื่อกำจัดไขมันเลวที่สะสมภายในนั่นเอง
- ความผิดปกติของเกล็ดเลือด สำหรับความผิดปกติของเกล็ดเลือด จะพบได้ว่า เกล็ดเลือดมีการเกาะกลุ่ม และจับตัวกันง่ายกว่าในสัตว์ทดลอง หรือคนปกติ ส่งผลให้มีคราบแข็งที่ผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้นด้วย โดยอาการลักษณะนี้ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจโดยละเอียด เพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรคได้
- ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของหลอดเลือดและการสลายลิ่มเลือด ข้อนี้สำคัญมาก เพราะผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับสารที่ต้านการแข็งตัวของเลือดน้อยกว่าปกติ จะมีโอกาสที่เกิดการแข็งตัวของเลือดได้ง่ายกว่าปกติ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดตีบแข็งตัวง่ายขึ้นด้วย ดังนั้น ต้องระวังโรคแทรกซ้อนชนิดนี้ให้อย่างดี เพราะส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้

“โรคเบาหวาน” จัดเป็นโรคที่น่ากลัวและอันตรายต่อชีวิต หากไม่มีการดูแลสุขภาพให้ดี และเมื่อมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือบางรายอาจพิการ และเสียชีวิตได้ ดังนั้น ต้องรู้จักดูแลตัวเอง และสร้างเกราะป้องกันให้สุขภาพ ด้วยน้ำมันรำข้าว กอมฟลีนา ที่สกัดจากข้าวเกรดพรีเมียม ที่มีสารออไรซานอลสูง ช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคเบาหวาน พร้อมมีสารต้านอนุมูลอิสระ ปรับระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยบำรุงร่างกาย ให้คุณแข็งแรงห่างไกลโรคร้ายได้